วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

รู้ป่าว..ว่าเขื่อนมีกี่ชนิด...อยากรู้มาดูกัน




เขื่อน มีกี่ชนิด
เขื่อนทำหน้าที่เก็บกักน้ำเพื่อใช้ในการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเขื่อนเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สำคัญเนื่องจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่ำสุด เดินเครื่องได้เร็ว เพราะแค่ปล่อยน้ำก็จ่ายไฟได้เลย แต่ต้นทุนการก่อสร้างสูง ปัจจุบันมักถูกต่อต้านจาก NGO ถึงแม้ปัจจุบันจะทำการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ได้ยาก แต่เราก็ควรรู้จักเขื่อนไว้ว่ามีกี่ชนิดนะครับ เพราะอย่างน้อยก็เอาไว้เล่าให้ลูกหลานฟังเวลาพาไปเที่ยวตามเขื่อนต่างๆ


เขื่อนเก็บกักน้ำ
ทำหน้าที่เก็บกักน้ำในลำน้ำ แม่น้ำไว้เป็นอ่างเก็บน้ำให้มีปริมาณ และระดับน้ำสูงพอที่จะใช้ในการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า (สะสมในรูปพลังงานศักย์ เมื่อปล่อยน้ำก็จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์)
แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ 5 ประเภท คือ

เขื่อนหิน
เขื่อนชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องมีดินฐานรากที่แข็งแรงมาก วัสดุที่ใช้เป็นตัวเขื่อนประกอบด้วยหินถมที่หาได้จากบริเวณใกล้เคียง
กับสถานที่ก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่ มีผนังกันน้ำซึมอยู่ตรงกลางแกนเขื่อน หรือด้านหน้าหัวเขื่อนโดยวัสดุที่ใช้ทำผนังกันน้ำซึม
อาจจะเป็นดินเหนียว คอนกรีตหรือวัสดุกันซึมอื่นๆ เช่น ยางแอสฟัลท์ก็ได้ ตัวอย่าง เขื่อนชนิดนี้ในประเทศไทย ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ และเขื่อนบางลาง เป็นต้น

เขื่อนดิน
เขื่อนดินมีคุณสมบัติและลักษณะในการออกแบบคล้ายคลึงกับเขื่อนหิน แต่วัสดุที่ใช้ถมตัวเขื่อนมีดินเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างเขื่อนชนิดนี้
ในประเทศไทย ได้แก่ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแก่งกระจาน และเขื่อนแม่งัด เป็นต้น

เขื่อนคอนกรีตแบบกราวิตี้
เขื่อนชนิดนี้ใช้ก่อสร้างในที่ตั้งที่มีหินฐานรากเป็นหินที่ดี มีความแข็งแรง การออกแบบตัวเขื่อนเป็นคอนกรีตที่มีความหนาและ
น้ำหนักมากพอที่จะต้านทานแรงดันของน้ำ หรือแรงดันอื่นๆได้ โดยอาศัยน้ำหนักของตัวเขื่อนเอง รูปตัดของตัวเขื่อน
มักจะเป็นรูปสามเหลี่ยมเป็นแนวตรงตลอดความยาวของตัวเขื่อน

เขื่อนคอนกรีตแบบโค้ง
เขื่อนคอนกรีตแบบโค้ง มีคุณสมบัติที่จะต้านแรงดันของน้ำและแรงภายนอกอื่นๆ โดยความโค้งของตัวเขื่อน เขื่อนแบบนี้เหมาะ
ที่จะสร้างในบริเวณหุบเขาที่มีลักษณะเป็นรูปตัว U และมีหินฐานรากที่แข็งแรง เมื่อเปรียบเทียบเขื่อนแบบนี้กับ
เขื่อนแบบกราวิตี้ เขื่อนแบบนี้มีรูปร่างแบบบางกว่ามากทำให้ราคาค่าก่อสร้างถูกกว่า แต่ข้อเสียของเขื่อนแบบนี้ คือการออกแบบ
และการดำเนินการก่อสร้างค่อนข้างยุ่งมาก มักจะต้องปรับปรุงฐานรากให้มีความแข็งแรงขึ้นด้วย เขื่อนภูมิพลซึ่งเป็น เขื่อนขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศไทย มีลักษณะผสมระหว่างแบบกราวิตี้และแบบโค้ง ซึ่งให้ทั้งความแข็งแรง
และประหยัด

เขื่อนกลวงหรือเขื่อนครีบ
เขื่อนกลวงมีโครงสร้างซึ่งรับแรงภายนอก เช่น แรงดันของน้ำ ที่กระทำต่อผนังกั้นน้ำที่เป็นแผ่นเรียบหรือครีบ (Buttress)
ที่รับผนังกั้นน้ำและถ่ายแรงไปยังฐานราก เขื่อนประเภทนี้มักจะเป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้วัสดุก่อสร้างน้อย โดยทั่วไป
แล้วเป็นเขื่อนที่ประหยัดมาก แต่ความปลอดภัยของเขื่อนประเภทนี้มีน้อยกว่าเขื่อนกราวิตี้ เนื่องจากมีความแข็งแรงน้อยกว่า
ด้วยเหตุนี้จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมสร้างเขื่อนประเภทนี้มากนัก

มารู้จักไวน์กันหน่อย....


ขั้นตอนคร่าวๆที่ผู้ผลิตไวน์ทำกันก็คือ สกัดน้ำออกมาจากองุ่นก่อนและใส่ถังหมัก เมื่อหมักและกรองตะกอนจากเหล้าองุ่นแล้ว จึงนำเก็บไว้แล้วค่อยบรรจุขวดทีหลัง
รสชาติของไวน์ที่ต่างกันนั้น นอกจากจะแตกต่างที่ตัวองุ่นแล้ว ยังขึ้นกับขั้นตอนและเวลาของการหมักอีกด้วย
ประวัติความเป็นมาของไวน์
ไวน์มีต้นกำเนิดในศตวรรษที่ 19 เมื่อหลุยส์ ปาสเตอร์ นักวิทยาศาสตร์คนดังของโลกพบว่า "ยีสต์" หรือเชื้อราขนาดเล็ก เป็นตัวเปลี่ยนน้ำตาลในผลไม้เป็นแอลกอฮอล์ โดยอาศัยปฏิกิริยาที่ค่อนข้างซับซ้อน การหมักน้ำองุ่นให้กลายเป็นเหล้าเป็นไวน์นั้นเป็นวิธีตามธรรมชาติ โดยยีสต์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติของผิวองุ่นให้เป็นแอลกอฮอล์และฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้อาจเติมยีสต์เข้าไปอีก เพื่อช่วยกระบวนการหมัก ไวน์แดงทำมาจากองุ่นแดง ที่หมักเชื้ออุณหภูมินานประมาณ 2 สัปดาห์ ด้วยอุณหภูมิ 21-29 องศาเซลเซียส ส่วนไวน์ขาวทำมาจากองุ่นเขียวขาว หมักเชื้อที่อุณหภูมิ 10-15 เซลเซียส นานประมาณ 3-6 สัปดาห์
ไวน์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ คือ

1) STILL WINE / TABLE WINE - ไวน์ไม่มีฟอง
แอลกอฮอล์ประมาณ 8 - 14 ดีกรี
2) SPARKLING WINE - ไวน์มีฟอง

แรงแอลกอฮอล์ประมาณ 8 - 14 ดีกรี
3) FORTIFIED WINE - ฟอร์ติไฟด์ไวน์

แรงแอลกอฮอล์ประมาณ 17 - 22 ดีกรี

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์

จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์
กฎหมายและศีลธรรม (Motal) เป็นกฏเกณฑ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรของสังคมมาช้านานเราพอเข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า รัฐเป็นผู้ตรากฏหมายขึ้นเพื่อใช้บังคับพลเมืองในอาณาเขตของรัฐ ขณะศีลธรรมเป็นข้อบัญญัติทางศาสนาซึ่งเป็นหลักความเชื่อของประชาชน จริยธรรม (Ethics) เป็นเรื่องของการกำหนดความถูกต้องดีงาม สิ่งที่ไม่ควรทำ มีหลักปฏิบัติในระดับที่สูงกว่ามารยาทในสังคม เช่น คนที่ไม่ยอมเข้าแถวเพื่อขอรับบริการตามสิทธิ์ก่อนหลังอาจถือว่าไม่มีมารยาทหรือพนักงานคอมพิวเตอร์คนหนึ่งเอาข้อมูลทางการเงินของลูกค้าที่เขาจะต้องเห็นตามหน้าที่การงานไปหาผลประโยชน์แก่ตนเอง เช่น ขายรายชื่อนั้นให้ธุรกิจอื่น หรือบอกให้แก่คู่สมรสซึ่งเป็นพนักงานขายตรงไปเสนอขายสินค้า การกระทำเช่นนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง ไม่มีจริยธรรม จริงอยู่ แม้ว่าบริษัทที่พนักงานผู้นั้นทำงานอยู่จะไม่เสียหาย แต่การนำเอาของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจทำได้อย่างเปิดเผย หรือพนักงานขายสินค้าของทางบริการหนึ่งซึ่งลาออกจากบริษัทเพื่อไปทำงานกับบริษัทคู่แข่งแล้วใช้ประโยชน์จากความรู้ในเรื่องข้อมูลราคาหรือความลับทางการค้าของบริษัทแรกไปให้บริษัทหลัง ก็อาจเรียกได้ว่าพนักงานคนนั้นไม่มีจริยธรรม


ลินดา เฮอร์นดอน (Linda Herndon) Linda Herndon : Herndon : Computer Ethics, Netiquette, and Other Concerns http://www.benedictiine.edu/ethics.html ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้

1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10.ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ